เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)
เข้าใจและสามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาในรูปแบบต่างๆ ออกแบบแผนภาพเพื่อแก้โจทย์ปัญหาต่างๆโดยสามารถให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ได้ เกิดทักษะการมองภาพและเห็นรูปแบบในมิติต่างๆเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับตนเอง และนำเสนอให้ผู้เข้าใจได้

Week 1

เป้าหมายรายสัปดาห์: นักเรียนมีความเข้าใจ และสามารถหาพื้นที่ ของรูปสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมได้ เห็นความสัมพันธ์ของรูปสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม รวมทั้งสามารถออกแบบวิธีการหาพื้นที่ของสิ่งต่างๆได้



Week


Input


Process


Output


Outcome
1
โจทย์  ทบทวน
 - การหาพื้นที่ 2 มิติ
 (รูปสามเหลี่ยม,สี่เหลี่ยม)
Key Questions :
-รูปสามเหลี่ยมกับรูปสี่เหลี่ยมเหมือนหรือต่างกันอย่างไร มีความสัมพันธ์กันหรือไม่เพราะอะไร?
นักเรียนมีวิธีการหาพื้นที่อย่างไร

เครื่องมือคิด
- Brainstorms
การระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีคิดจากโจทย์ที่ครูกำหนดให้
- Blackboards share
การแลกเปลี่ยนนำเสนอวิธีคิด
- Show and Share
การนำเสนอชิ้นงานและพูดสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างน่าสนใจ

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
บรรยากาศในชั้นเรียน
รูปสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยมแบบต่างๆ
 - ใบงานการหาพื้นที่
ใบไม้ต่างๆ
เชื่อม
ครูและนักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับวิธีคิดการหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมในรูปแบบต่างๆ
ชง
แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม
- ครูให้โจทย์โดยกำหนดรูปสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมในรูปแบบต่างๆ และให้แต่ละกลุ่มช่วยกันหาพื้นที่
เชื่อม
นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมแสดงวิธีคิดและนำเสนอวิธีการคิดจากโจทย์ที่ได้รับมอบหมาย
ใช้
นักเรียนทำใบงาน
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “รูปสามเหลี่ยมกับรูปสี่เหลี่ยมเหมือนหรือต่างกันอย่างไร มีความสัมพันธ์กันหรือไม่เพราะอะไร?
เชื่อม
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของรูปสามเหลี่ยมกับสี่เหลี่ยม โดยการลองสร้างรูปสามเหลี่ยมจากสี่เหลี่ยมขนาดต่างๆอีกครั้ง
ชง
ครูให้โจทย์นักเรียนออกแบบหาพื้นที่ของใบไม้รูปร่างต่างๆตามความสนใจ





ใช้
นักเรียนแต่ละคนออกแบบวิธีการหาพื้นที่ของใบไม้ตามที่ตนเองเลือกคนละ ชนิด จากนั้นนำมาจัดลำดับพื้นที่จากน้อยไปหามาก
เชื่อม
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอวิธีการคิดและออกแบบการหาพื้นที่ของใบไม้ตามที่ตนเองเลือก
ครูและนักเรียนร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรม

ภาระงาน
 - การแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นจากโจทย์ที่กำหนดให้
การตอบคำถาม
การทำใบงาน

ชิ้นงาน
สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- ใบงาน
- วิธีการออกแบบหาพื้นที่ของใบไม้รูปร่างต่างๆตามความสนใจ
ความรู้
นักเรียนมีความเข้าใจ และสามารถหาพื้นที่ ของรูปสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมได้ เห็นความสัมพันธ์ของรูปสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม รวมทั้งสามารถออกแบบวิธีการหาพื้นที่ของสิ่งต่างๆได้
ทักษะ
ทักษะการคิด
นักเรียนสามารถคิดเชิงวิเคราะห์ จำแนกรูปและบอกความสัมพันธ์ในแบบรูปของใบไม้ต่างๆได้
ทักษะการแก้ปัญหา
นักเรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น และใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
ทักษะการสื่อสาร / การให้เหตุผล
การมีส่วนร่วมในการแสนอความคิดเห็น ในวิธีคิดที่แปลกใหม่ การอภิปรายเกี่ยวกับการหาพื้นที่จากรูปที่กำหนดให้ และนำเสนอวิธีคิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการมองเห็นแบบรูป(pattern)
นักเรียนสามารถนำเสนอความเข้าใจผ่านแบบรูปและมองเห็นความสัมพันธ์รูปร่างและรูปทรงต่างๆที่เกิดจากทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ได้
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยออกแบบวิธีคิด ร่วมปรึกษาความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆ ช่วยเหลือกันและกันในการ
เรียนรู้ สร้างโจทย์ใหม่ให้ผู้อื่นฝึกทำและเข้าใจได้
คุณลักษณะ
-  มีความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยวิธีการที่น่าสนใจ
รู้เคารพ มีวินัยและความรับผิดชอบ
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น



ภาพบรรยาศ / ชิ้นงาน





สลับคาบมาสอนการเรียนรู้พี่ๆ ป.4 และคุณครูเริ่มด้วยการสร้างความคุ้นเคยเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ผ่านกิจกรรมต่างๆ โจทย์การคิด และเกมต่างๆ สู่การเรียนรู้

 _ทบทวนความเข้าใจการเรียนรู้ผ่านเกมการคิด ครูกำหนดเลข 0-9 ให้นักเรียนนำมาสร้างเป็นจำนวน 5 หลัก เพื่อหาผลต่างที่มีค่าน้อยที่สุด.. 
(ตอนนี้พี่ๆยังคิดไม่ออก แต่ด้วยกระบวนการและความต่อเนื่องทางความคิด ให้เขาอยู่กับโจทย์ข้อนี้ยาวนาน โดยครูยังคงกระตุ้นด้วยคำถามทุกวัน)
 ..ก่อนที่ทุกคนได้สรุปการเรียนรู้(ก่อนเรียน) ผ่านรูปแบบชิ้นงานที่หลากหลายในนำเสนอและถ่ายทอดความเข้าใจ




1 ความคิดเห็น:

  1. สลับคาบมาสอนการเรียนรู้พี่ๆ ป.4 และคุณครูเริ่มด้วยการสร้างความคุ้นเคยเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ผ่านกิจกรรมต่างๆ โจทย์การคิด และเกมต่างๆ สู่การเรียนรู้

    _ทบทวนความเข้าใจการเรียนรู้ผ่านเกมการคิด ครูกำหนดเลข 0-9 ให้นักเรียนนำมาสร้างเป็นจำนวน 5 หลัก เพื่อหาผลต่างที่มีค่าน้อยที่สุด..
    (ตอนนี้พี่ๆยังคิดไม่ออก แต่ด้วยกระบวนการและความต่อเนื่องทางความคิด ให้เขาอยู่กับโจทย์ข้อนี้ยาวนาน โดยครูยังคงกระตุ้นด้วยคำถามทุกวัน)

    ..ก่อนที่ทุกคนได้สรุปการเรียนรู้(ก่อนเรียน) ผ่านรูปแบบชิ้นงานที่หลากหลายในนำเสนอและถ่ายทอดความเข้าใจ

    ตอบลบ